ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

มีผู้ออกแบบไหม?

ปล้องท้องของหิ่งห้อยโฟทูริส

ปล้องท้องของหิ่งห้อยโฟทูริส

ปล้องท้องหรืออวัยวะผลิตแสงของหิ่งห้อยโฟทูริส มีเกล็ดจิ๋ว ๆ เป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่มากมาย เกล็ดเหล่านี้ช่วยทำให้แสงของมันส่องสว่างได้อย่างน่าทึ่ง *

ภาพขยายเกล็ดที่ปล้องท้องหิ่งห้อย

ลองคิดดู: พวกนักวิจัยได้ค้นพบว่าเกล็ดจิ๋ว ๆ บนปล้องท้องของหิ่งห้อยบางชนิดมีลักษณะเป็นลอน ๆ แบบเดียวกับลูกฟูก ซึ่งคล้ายกับกระเบื้องมุงหลังคาที่ปูซ้อนเหลื่อมกัน เกล็ดที่เป็นเหมือนแผ่นกระเบื้องบนปล้องท้องของหิ่งห้อยจะซ้อนเหลื่อมกันเป็นชั้น ๆ โดยที่แต่ละเกล็ดจะห่างกันแค่ 3 ไมโครเมตร คือห่างกันไม่ถึง 1 ใน 20 เท่าของความหนาของเส้นผมมนุษย์ เกล็ดหรือกระเบื้องจิ๋ว ๆ ที่ซ้อนในลักษณะนี้ทำให้ปล้องท้องของหิ่งห้อยส่องแสงได้สว่างขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเกล็ดที่เรียงแบบเรียบ ๆ!

แนวคิดนี้จะนำไปพัฒนาไดโอดเปล่งแสง (หรือหลอด LED) ที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ไหม? เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองนำวัสดุที่คล้ายกับเกล็ดของหิ่งห้อยไปหุ้มหลอด LED ผลเป็นอย่างไร? หลอด LED แบบนี้สามารถให้แสงที่สว่างกว่าหลอดธรรมดาที่ไม่ได้หุ้มอะไรเลยถึง 55 เปอร์เซ็นต์! นักฟิสิกส์ชื่อดร. อันนิก เบย์ กล่าวว่า “ข้อสรุปที่เราได้จากงานวิจัยนี้คือ ถ้าเราสังเกตดูสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติให้ดี ๆ เราจะเรียนอะไรได้อีกเยอะเลย”

คุณคิดอย่างไร? ปล้องท้องของหิ่งห้อยโฟทูริส เกิดขึ้นโดยวิวัฒนาการหรือมีผู้ออกแบบ?

^ วรรค 3 มีหิ่งห้อยอีกมากมายหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ศึกษาวิจัย