ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้ามไปยังสารบัญ

ข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาไว้วางใจได้

ข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาไว้วางใจได้

“ข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาไว้วางใจได้ ทำให้คนที่ขาดประสบการณ์มีปัญญา.”—เพลง. 19:7, ล.ม.

1. เรื่องอะไรบ้างที่เราศึกษากันบ่อยๆ และการศึกษาเรื่องเหล่านี้เป็นประจำช่วยเราอย่างไร?

ขณะที่เตรียมสำหรับการศึกษาหอสังเกตการณ์ คุณเคยคิดไหมว่า ‘เรื่องนี้เคยศึกษาไปแล้วไม่ใช่หรือ?’ หากคุณได้เข้าร่วมการประชุมของพยานพระยะโฮวามาสักระยะหนึ่งแล้ว คุณคงสังเกตว่าบางเรื่องมีการพิจารณากันหลายครั้ง. เราศึกษาบ่อยเกี่ยวกับเรื่องราชอาณาจักร ค่าไถ่ งานประกาศ และคุณลักษณะต่างๆ เช่น ความรักและความเชื่อ. การศึกษาเรื่องเหล่านี้เป็นประจำช่วยเราให้มีความเชื่อมั่นคงและช่วยเรา “เป็นผู้ทำตามพระคำ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ฟัง.”—ยโก. 1:22

2. (ก) คำ “ข้อเตือนใจ” ในคัมภีร์ไบเบิลมักหมายถึงอะไร? (ข) กฎหมายของพระยะโฮวาแตกต่างจากกฎหมายของมนุษย์อย่างไร?

2 คำในภาษาฮีบรูที่แปลว่า “ข้อเตือนใจ” มักหมายถึงกฎหมาย พระบัญชา และกฎต่างที่พระเจ้าประทานแก่ประชาชนของพระองค์. ไม่เหมือนกับกฎหมายของมนุษย์ที่มักจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขบ่อยๆ กฎหมายและข้อกำหนดของพระยะโฮวานั้นสมบูรณ์ และเราสามารถไว้วางใจได้ว่าการเชื่อฟังกฎหมายนั้นเป็นประโยชน์สำหรับเราเสมอ. แม้ว่าพระเจ้าประทานกฎหมายบางข้อในสมัยอดีตที่ประชาชนของพระองค์ในปัจจุบันไม่ต้องปฏิบัติตามอีกต่อไป แต่นั่นไม่ได้เป็นเพราะมีอะไรบางอย่างผิดพลาดเกี่ยวกับกฎหมายเหล่านั้น. ผู้ประพันธ์เพลงสรรเสริญกล่าวว่า “ข้อเตือนใจจากพระองค์ถูกต้องเสมอ.”—เพลง. 119:144, ล.ม.

3, 4. (ก) ข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาอาจรวมถึงอะไรด้วย? (ข) ชาวอิสราเอลจะได้รับประโยชน์อย่างไรถ้าพวกเขาเชื่อฟังข้อเตือนใจจากพระเจ้า?

3 บางครั้งข้อเตือนใจของพระยะโฮวารวมถึงคำเตือนด้วย. ชาติอิสราเอลได้รับคำเตือนเป็นประจำโดยทางผู้พยากรณ์ของพระเจ้า. ตัวอย่างเช่น ขณะที่ชาวอิสราเอลจวนจะเข้าแผ่นดินที่ทรงสัญญา โมเซเตือนพวกเขาว่า “เจ้าทั้งหลายจงระวัง, อย่าให้ใจเจ้าแปรปรวน, หันหวนไปปฏิบัตินับถือพระอื่นๆ; กลัวว่าความพิโรธของพระยะโฮวาจะพลุ่งขึ้นต่อเจ้าทั้งหลาย.” (บัญ. 11:16, 17) เราอ่านพบข้อเตือนใจอื่นอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ในคัมภีร์ไบเบิลซึ่งประเจ้าประทานแก่ประชาชนของพระองค์.

 4 พระยะโฮวาทรงกระตุ้นเตือนประชาชนของพระองค์บ่อยให้เกรงกลัวพระองค์ เชื่อฟังพระองค์ และนำคำสรรเสริญมาสู่พระนามของพระองค์. (บัญ. 4:29-31; 5:28, 29) พระเจ้าทรงสัญญาว่าถ้าพวกเขาเชื่อฟังข้อเตือนใจเหล่านั้น พระองค์จะทรงอวยพรพวกเขาอย่างล้นเหลือ.—เลวี. 26:3-6; บัญ. 28:1-4

ชาติอิสราเอลตอบรับข้อเตือนใจจากพระเจ้าอย่างไร?

5. ทำไมพระยะโฮวาทรงรบแทนกษัตริย์ฮิศคียาห์?

5 ตลอดประวัติศาสตร์ของชาติอิสราเอล พระเจ้าทรงรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับพวกเขาเสมอ. ตัวอย่างเช่น เมื่อกษัตริย์ซันเฮริบแห่งอัสซีเรียมารุกรานยูดาห์และข่มขู่กษัตริย์ฮิศคียาห์ พระยะโฮวาทรงส่งทูตสวรรค์องค์หนึ่งให้ช่วยประชาชนของพระองค์. ในคืนเดียว ทูตสวรรค์ของพระเจ้าสังหารทหารชาวอัสซีเรีย 185,000 คน. ซันเฮริบต้องกลับไปด้วยความอัปยศอดสูอย่างยิ่ง. (2 โคร. 32:21; 2 กษัต. 19:35) ทำไมพระเจ้าทรงรบแทนกษัตริย์ฮิศคียาห์? เพราะ “ท่านได้เข้าสนิทกับพระยะโฮวา, และติดตามพระองค์ไปไม่ได้หลงผิด, แต่ได้รักษาพระบัญญัติทั้งหลายของพระยะโฮวา.”—2 กษัต. 18:1, 5, 6

โยซียาห์ฟังข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาและช่วยประชาชนให้กลับมานมัสการพระยะโฮวาอีกครั้งหนึ่ง (ดูข้อ 6)

6. กษัตริย์โยซียาห์ได้แสดงความไว้วางใจในพระยะโฮวาอย่างไร?

6 กษัตริย์โยซียาห์เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของคนที่เชื่อฟังข้อเตือนใจของพระยะโฮวา. ตั้งแต่ท่านยังเด็กมาก “ท่านได้กระทำการชอบต่อพระเนตรพระยะโฮวา . . . ไม่เลี้ยวไปข้างซ้ายหรือข้างขวา.” (2 โคร. 34:1, 2) โยซียาห์แสดงความไว้วางใจในพระยะโฮวาโดยทำลายรูปเคารพทั้งหมดออกไปจากแผ่นดินและช่วยประชาชนให้หันมานมัสการพระยะโฮวาอีกครั้งหนึ่ง. เนื่องจากโยซียาห์ได้ทำสิ่งต่างเหล่านี้ พระยะโฮวาจึงไม่เพียงแต่อวยพรท่าน แต่อวยพรชนทั้งชาติด้วย.—อ่าน 2 โครนิกา 34:31-33

7. เกิดอะไรขึ้นเมื่อชาติอิสราเอลไม่เชื่อฟังพระยะโฮวา?

7 แต่น่าเสียดายที่ประชาชนของพระเจ้าไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาอยู่เสมอ. ในช่วงหลายศตวรรษ พวกเขาไม่เชื่อฟังพระยะโฮวาหลายครั้ง. เมื่อความเชื่อของพวกเขาอ่อนลง พวกเขามักถูกชักพาให้หันไปนมัสการพระเท็จ. (เอเฟ. 4:13, 14) และดังที่พระเจ้าเคยเตือนพวกเขาไว้ เมื่อพวกเขาไม่ไว้วางใจพระองค์ พวกเขาก็เก็บเกี่ยวผลอันขมขื่น.—เลวี. 26:23-25; ยิระ. 5:23-25

8. สภาพการณ์ของเรากับชาวอิสราเอลคล้ายกันอย่างไร?

8 เราจะได้รับประโยชน์อย่างไรจากตัวอย่างของชาติอิสราเอล? ประชาชนของพระเจ้าในทุกวันนี้ได้ รับคำแนะนำและการตีสอน เช่นเดียวกับที่ชาวอิสราเอลเคยได้รับ. (2 เป. 1:12) ทุกครั้งที่เราอ่านคัมภีร์ไบเบิล เราได้รับการกระตุ้นให้นึกถึงข้อเตือนใจจากพระเจ้า. และพระยะโฮวาทรงอนุญาตให้เราเลือกได้ว่าเราจะเชื่อฟังพระบัญชาของพระองค์หรือเราจะทำตามสิ่งที่ดูเหมือนว่าถูกในสายตาเราเอง. (สุภา. 14:12) ให้เราพิจารณาเหตุผลบางอย่างที่เราควรเอาใจใส่ข้อเตือนใจจากพระยะโฮวาและพิจารณาว่าเราได้รับประโยชน์อย่างไรจากการทำอย่างนั้น.

จงเชื่อฟังพระเจ้าและมีชีวิตอยู่ต่อไป

9. เมื่อชาวอิสราเอลอยู่ในถิ่นทุรกันดาร พระยะโฮวาทรงเตือนพวกเขาโดยวิธีใดให้ระลึกว่าพระองค์คอยช่วยพวกเขาอยู่?

9 เมื่อชาวอิสราเอลเริ่มต้นการเดินทางรอนแรม 40 ปีในถิ่นทุรกันดาร พระยะโฮวาไม่ได้ให้รายละเอียดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับวิธีที่พระองค์จะชี้นำ ปกป้อง และดูแลพวกเขา. แต่พระองค์ทรงใช้หลายวิธีเพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาจะได้รับประโยชน์ถ้าพวกเขาไว้วางใจพระองค์และทำตามพระบัญชาของพระองค์. โดยการนำชาวอิสราเอลด้วยเสาเมฆตอนกลางวันและเสาไฟตอนกลางคืน พระยะโฮวาทรงเตือนพวกเขาให้ระลึกเสมอว่าพระองค์กำลังช่วยเหลือพวกเขาในการเดินทางที่ยากลำบาก. (บัญ. 1:19; เอ็ก. 40:36-38) พระองค์ทรงจัดเตรียมสิ่งจำเป็นพื้นฐานให้พวกเขาด้วย. พวกเขา “มิได้ขัดสนสิ่งใด ทั้งผ้าผ่อนก็มิให้เก่าไป, และเท้าก็มิให้บวม.”—นเฮม. 9:19-21

10. พระยะโฮวากำลังนำประชาชนของพระองค์ในทุกวันนี้อย่างไร?

10 ผู้รับใช้ของพระเจ้าในทุกวันนี้จะเข้าสู่โลกใหม่อันชอบธรรมในอีกไม่ช้า. เรามั่นใจว่าพระยะโฮวากำลังประทานทุกสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีเพื่อจะรอดชีวิตผ่าน “ความทุกข์ลำบากใหญ่” ไหม? (มัด. 24:21, 22; เพลง. 119:40, 41) จริงอยู่ พระยะโฮวาไม่ได้ใช้เสาเมฆหรือเสาไฟเพื่อนำเราเข้าสู่โลกใหม่. แต่พระองค์ใช้องค์การของพระองค์เพื่อช่วยเราให้ตื่นตัวอยู่เสมอ. ตัวอย่างเช่น มีการเน้นมากขึ้นในเรื่องการเสริมสายสัมพันธ์ของเรากับพระยะโฮวาให้มั่นคงยิ่งขึ้นด้วยการอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นส่วนตัว การนมัสการประจำครอบครัวในตอนเย็น รวมทั้งการเข้าร่วมการประชุมและการประกาศเป็นประจำ. เราได้ปรับเปลี่ยนบางสิ่งในชีวิตเราเพื่อจะทำตามคำแนะนำเหล่านี้ไหม? การทำอย่างนั้นจะช่วยเราให้มีความเชื่อมั่นคงซึ่งจะช่วยเราให้รอดชีวิตเข้าสู่โลกใหม่.

11. พระเจ้าทรงแสดงให้เห็นโดยวิธีใดว่าพระองค์ทรงห่วงใยเรา?

11 นอกจากจะช่วยให้เราตื่นตัวฝ่ายวิญญาณแล้ว การชี้นำที่เราได้รับจากองค์การของพระเจ้ายังช่วยเราให้ตัดสินใจอย่างถูกต้องในชีวิตประจำวันด้วย. ตัวอย่างเช่น เราได้รับการสนับสนุนให้มีทัศนะถูกต้องในเรื่องสิ่งฝ่ายวัตถุและดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายเพื่อจะกังวลใจน้อยลง. เรายังได้รับคำแนะนำในเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกาย การเลือกความบันเทิงที่ดีงาม และการตัดสินใจว่าจะเรียนมากน้อยขนาดไหน. นอกจากนั้น ขอให้คิดถึงข้อเตือนใจต่างที่ช่วยเราให้ปลอดภัยเมื่ออยู่ที่บ้าน เมื่อขับรถ หรือเมื่ออยู่ที่หอประชุมราชอาณาจักร และข้อเตือนใจที่ช่วยเตรียมเราไว้ให้พร้อมเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน. คำแนะนำทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงห่วงใยเรา อยากให้เรามีสุขภาพที่ดีและมีความสุข.

ข้อเตือนใจช่วยคริสเตียนในยุคแรกให้ซื่อสัตย์อยู่เสมอ

12. (ก) เรื่องหนึ่งที่พระเยซูทรงย้ำกับเหล่าสาวกของพระองค์บ่อยคืออะไร? (ข) เปโตรไม่เคยลืมบทเรียนอะไรในเรื่องความถ่อมใจ และตัวอย่างของพระเยซูน่าจะมีผลต่อเราอย่างไร?

12 ในศตวรรษแรก ประชาชนของพระเจ้าได้รับข้อเตือนใจเป็นประจำ. พระเยซูตรัสกับเหล่าสาวกบ่อยเกี่ยวกับความสำคัญที่จะเป็นคนถ่อมใจ. แต่พระองค์ไม่เพียงแค่บอกให้เหล่าสาวกถ่อมใจ. พระองค์ทรงแสดงให้พวกเขาเห็นด้วยการวางตัวอย่าง. ในคืนสุดท้ายก่อนจะสิ้นพระชนม์ พระเยซูและเหล่าอัครสาวกอยู่ด้วยกันเพื่อฉลองปัศคา. ขณะที่เหล่าอัครสาวกกำลังรับประทานอยู่ พระเยซูทรงลุกขึ้น มาล้างเท้าพวกเขา. ตามปกติแล้ว นี่เป็นหน้าที่ของคนรับใช้. (โย. 13:1-17) สิ่งที่พระเยซูทำในคืนนั้นสอนบทเรียนสำคัญแก่เหล่าอัครสาวกอย่างที่พวกเขาไม่มีวันลืม. ประมาณ 30 ปีต่อมา อัครสาวกเปโตรซึ่งอยู่ด้วยในการรับประทานอาหารมื้อนั้นให้คำแนะนำในเรื่องความถ่อมใจแก่คริสเตียนคนอื่นๆ. (1 เป. 5:5) ตัวอย่างของพระเยซูน่าจะกระตุ้นเราทุกคนให้ถ่อมใจในการปฏิบัติต่อกันและกัน.—ฟิลิป. 2:5-8

13. พระเยซูทรงสอนเหล่าสาวกให้เห็นความจำเป็นที่จะแสดงคุณลักษณะสำคัญอะไร?

13 อีกเรื่องหนึ่งที่พระเยซูมักพิจารณากับเหล่าสาวกคือความจำเป็นที่พวกเขาต้องมีความเชื่อมั่นคง. ครั้งหนึ่ง เหล่าสาวกไม่สามารถรักษาเด็กคนหนึ่งที่ถูกปิศาจสิง. พวกเขาถามพระเยซูว่า “ทำไมพวกข้าพเจ้าขับปิศาจตนนั้นไม่ได้?” พระเยซูตรัสตอบว่า “เพราะพวกเจ้ามีความเชื่อน้อย. เราบอกเจ้าทั้งหลายตามจริงว่า ถ้าเจ้ามีความเชื่อขนาดเท่าเมล็ดมัสตาร์ดเมล็ดหนึ่ง . . . จะไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้สำหรับเจ้าทั้งหลาย.” (มัด. 17:14-20) ตลอดช่วงเวลาที่พระเยซูรับใช้บนแผ่นดินโลก พระองค์ทรงสอนเหล่าสาวกว่าความเชื่อเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างยิ่ง. (อ่านมัดธาย 21:18-22 ) เรากำลังรับประโยชน์จากโอกาสต่างที่เสริมความเชื่อของเราด้วยการเข้าร่วมการประชุมใหญ่และการประชุมประชาคมทุกรายการไหม? การประชุมเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงการพบปะสังสรรค์กัน แต่เป็นโอกาสที่เราจะแสดงความไว้วางใจในพระยะโฮวา.

14. ทำไมจึงสำคัญที่จะแสดงความรักแบบที่ไม่เห็นแก่ตัวในทุกวันนี้?

14 พระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกมีข้อเตือนใจมากมายที่กระตุ้นเราให้แสดงความรักต่อกัน. พระเยซูตรัสว่าพระบัญญัติที่สำคัญที่สุดข้อที่สองคือ “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง.” (มัด. 22:39) ยาโกโบ ซึ่งเป็นน้องชายต่างบิดาของพระเยซู เรียกความรักว่าเป็น “พระราชบัญญัติ.” (ยโก. 2:8) อัครสาวกโยฮันเขียนว่า “พี่น้องที่รัก ที่ข้าพเจ้าเขียนมานี้ไม่ใช่บัญญัติใหม่ แต่เป็นบัญญัติเก่าที่พวกท่านได้รับตั้งแต่ต้น. . . . แต่ถ้าจะว่าที่ข้าพเจ้าเขียนมานี้เป็นบัญญัติใหม่ก็ได้.” (1 โย. 2:7, 8) โยฮันหมายถึงอะไรเมื่อกล่าวถึง “บัญญัติเก่า” และ “บัญญัติใหม่”? ท่านหมายถึงพระบัญชาที่ให้เรารักกัน. บัญญัตินี้ “เก่า” เนื่องจากพระเยซูเคยประทานบัญญัตินี้มาก่อนแล้ว “ตั้งแต่ต้น.” แต่บัญญัตินี้ “ใหม่” เพราะในภายหลังเหล่าสาวกจะต้องแสดงความรักแบบเสียสละในสถานการณ์ใหม่ๆ. ปัจจุบัน เรารู้สึกขอบคุณที่ได้รับคำเตือนที่ช่วยเราไม่ให้เห็นแก่ตัวเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ในโลก. แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เราแสดงความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัว.

15. เหตุผลหลักที่พระเยซูมายังแผ่นดินโลกคืออะไร?

15 พระเยซูทรงห่วงใยผู้คนอย่างแท้จริง. พระองค์ทรงแสดงความห่วงใยนั้นด้วยการรักษาคนป่วยและปลุกคนให้เป็นขึ้นจากตาย. แต่การรักษาผู้คน ไม่ใช่เหตุผลหลักที่พระเยซูมายังแผ่นดินโลก. การประกาศและการสอนของพระองค์ช่วยผู้คนได้อย่างยั่งยืนกว่ามาก. เป็นเช่นนั้นอย่างไร? ทุกคนที่พระเยซูทรงรักษาและปลุกให้เป็นขึ้นจากตายในที่สุดก็แก่ลงและตายไป แต่คนที่ตอบรับข่าวสารที่พระองค์ประกาศมีโอกาสจะได้รับชีวิตนิรันดร์.—โย. 11:25, 26

16. พยานพระยะโฮวาในทุกวันนี้ทำตามคำสั่งของพระเยซูในการประกาศและสอนคนให้เป็นสาวกอย่างไร?

16 พระเยซูทรงสั่งเหล่าสาวกว่า “ฉะนั้น จงไปสอนคนจากทุกชาติให้เป็นสาวก.” (มัด. 28:19) คริสเตียนในศตวรรษแรกทำงานต่อจากที่พระเยซูได้เริ่มต้นไว้ และเราในทุกวันนี้ก็ประกาศแก่ผู้คนจำนวนมากขึ้นและในที่ต่างมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยทำกันมาก่อน. พยานพระยะโฮวามากกว่าเจ็ดล้านคนกำลังสอนคนอื่นอย่างกระตือรือร้นเกี่ยวกับราชอาณาจักรของพระเจ้าใน 230 กว่าดินแดน และสอนพระคัมภีร์หลายล้านคนเป็นประจำ. งานประกาศนี้เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าเรากำลังอยู่ในสมัยสุดท้าย.

จงไว้วางใจพระยะโฮวาในทุกวันนี้

17. เปาโลและเปโตรให้คำแนะนำอะไรแก่คริสเตียนในศตวรรษแรก?

17 ข้อเตือนใจช่วยคริสเตียนในศตวรรษแรกให้มีความเชื่อมั่นคง. ตัวอย่างเช่น เมื่อเปาโลถูกกักขังที่กรุงโรม ท่านบอกติโมเธียวว่า “จงยึดถือแบบแผนถ้อยคำที่ก่อประโยชน์ที่ท่านได้ยินจากข้าพเจ้านั้น.” (2 ติโม. 1:13) คำพูดนี้คงทำให้ติโมเธียวได้รับกำลังใจแน่ๆ. นอกจากนั้น หลังจากเปโตรสนับสนุนคริสเตียนให้พัฒนาคุณลักษณะต่างๆ เช่น ความอดทน ความรักใคร่ฉันพี่น้อง และการควบคุมตนเอง ท่านกล่าวต่ออีกว่า “ข้าพเจ้าพร้อมเสมอที่จะเตือนท่านทั้งหลายให้ระลึกถึงสิ่งเหล่านี้ แม้ว่าพวกท่านรู้แล้วและมั่นคงในความจริงที่พวกท่านได้รู้.”—2 เป. 1:5-8, 12

18. คริสเตียนในศตวรรษแรกรู้สึกอย่างไรเมื่อได้รับคำแนะนำ?

18 จริงอยู่ สิ่งที่เปาโลและเปโตรเขียนถึงประชาคมต่างนั้นคล้ายกับสิ่งที่ “พวกผู้พยากรณ์บริสุทธิ์กล่าวไว้เมื่อก่อน.” (2 เป. 3:2) พี่น้องในศตวรรษแรกขุ่นเคืองไหมเมื่อได้รับคำแนะนำอย่างนั้น? ไม่เลย. พวกเขารู้ว่าพระเจ้าทรงให้คำแนะนำแก่พวกเขาเพราะพระองค์รักพวกเขาและต้องการช่วยพวกเขาให้รักษาความซื่อสัตย์.—2 เป. 3:18

19, 20. ทำไมเราจึงเชื่อว่าการทำตามการชี้นำจากพระยะโฮวาทำให้เราได้รับประโยชน์มากที่สุด และเราจะได้รับประโยชน์จากข้อเตือนใจของพระองค์ได้อย่างไร?

19 ในปัจจุบัน เรามีเหตุผลมากมายที่จะเชื่อว่าการทำตามการชี้นำที่พระยะโฮวาประทานแก่เราในคัมภีร์ไบเบิล พระคำของพระองค์ เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับเรา. คำแนะนำในพระคำของพระองค์ไม่เคยผิดพลาด. (อ่านยะโฮซูอะ 23:14 ) คัมภีร์ไบเบิลบอกเราเกี่ยวกับวิธีที่พระเจ้าทรงปฏิบัติต่อมนุษย์ไม่สมบูรณ์ตลอดหลายพันปี. พระองค์ให้มีการเขียนเรื่องเหล่านี้ไว้เพื่อประโยชน์ของเรา. (โรม 15:4; 1 โค. 10:11) เราได้เห็นความสำเร็จเป็นจริงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล. คำพยากรณ์เป็นเหมือนกับข้อเตือนใจที่บอกไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น. ตัวอย่างเช่น หลายล้านคนได้กลายมาเป็นผู้นมัสการพระยะโฮวาดังที่มีพยากรณ์ไว้ว่าจะเป็นอย่างนั้นใน “สมัยสุดท้าย.” (ยซา. 2:2, 3) โลกนี้กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ. นี่ก็สำเร็จเป็นจริงตามคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิลด้วย. และดังที่ได้กล่าวไปแล้ว งานประกาศที่กำลังทำกันทั่วโลกเป็นความสำเร็จเป็นจริงโดยตรงตามที่พระเยซูได้ตรัสไว้.—มัด. 24:14

20 ตลอดหลายศตวรรษ พระผู้สร้างของเราได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราสามารถไว้วางใจพระองค์ได้. เรากำลังได้รับประโยชน์จากข้อเตือนใจของพระองค์ไหม? พี่น้องหญิงคนหนึ่งชื่อโรเซลเลนกล่าวว่า “เมื่อดิฉันเริ่มไว้วางใจพระยะโฮวาอย่างเต็มที่ ดิฉันเริ่มมองเห็นพระหัตถ์อันเปี่ยมด้วยความรักของพระองค์ที่ค้ำจุนและเสริมกำลังดิฉันชัดยิ่งขึ้น.” เราเองก็สามารถได้รับประโยชน์จากการทำตามข้อเตือนใจจากพระยะโฮวา.