วิธีใดได้ผลดีที่สุดในการสอนลูกเรื่องพระเจ้า?
วิธีใดได้ผลดีที่สุดในการสอนลูกเรื่องพระเจ้า?
“ถ้อยคำเหล่านี้, ซึ่งเราสั่งไว้แก่เจ้าทั้งหลายในวันนี้, ก็ให้ตั้งอยู่ในใจของเจ้าทั้งหลาย; และจงอุตส่าห์สั่งสอนบุตรทั้งหลายของเจ้าด้วยถ้อยคำเหล่านี้, และเมื่อเจ้าทั้งหลายจะนั่งอยู่ในเรือน หรือเดินในหนทาง, หรือนอนลง, และตื่นขึ้น.”—พระบัญญัติ 6:6, 7
บางครั้งพ่อแม่อาจรู้สึกว่าการอบรมเลี้ยงดูลูกเป็นหน้าที่รับผิดชอบที่หนักมากจนแทบจะรับไม่ไหว. และเมื่อพวกเขาพยายามจะหาคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงดูลูกก็พบว่ามีคำแนะนำมากมายจนพวกเขาสับสน. ส่วนญาติและเพื่อน ๆ ก็ชอบให้คำแนะนำอยู่บ่อย ๆ. นอกจากนี้ยังมีหนังสือ บทความในวารสาร และเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ตที่เสนอแนะวิธีต่าง ๆ มากมายซึ่งบางครั้งก็ขัดแย้งกัน.
ในทางตรงกันข้าม คัมภีร์ไบเบิลไม่เพียงให้คำแนะนำที่วางใจได้แก่พ่อแม่ว่าจะสอนลูกเรื่องอะไร แต่ยังบอกด้วยว่าจะสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดีที่สุด. ข้อคัมภีร์ที่ยกมาในตอนต้นแสดงว่าพ่อแม่จำเป็นต้องหาวิธีพูดคุยและสอนลูกเรื่องพระเจ้าเป็นประจำทุกวัน. ต่อไปนี้เราจะพิจารณาคำแนะนำสี่ประการจากคัมภีร์ไบเบิลที่สามารถช่วยพ่อแม่จำนวนมากให้สอนลูกเรื่องพระเจ้าได้อย่างประสบผลสำเร็จ.
1. สอนให้ลูกสังเกตสิ่งที่พระเจ้าสร้าง. อัครสาวกเปาโลเขียนว่า “คุณลักษณะของ [พระเจ้า] อันไม่ประจักษ์แก่ตา คือฤทธิ์อันถาวรและความเป็นพระเจ้าของพระองค์ ก็เห็นได้ชัดตั้งแต่การสร้างโลกเป็นต้นมา.” (โรม 1:20) พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้มากให้เข้าใจว่าพระเจ้าทรงเป็นบุคคลจริง โดยชี้ให้พวกเขาสังเกตดูสิ่งต่าง ๆ ที่พระเจ้าสร้างและอธิบายว่าสิ่งเหล่านั้นสอนอะไรเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า.
พระเยซูทรงใช้วิธีนี้เช่นกันเมื่อพระองค์สอนเหล่าสาวก. ตัวอย่างเช่น พระองค์ตรัสว่า “จงสังเกตนกในท้องฟ้า พวกมันไม่ได้หว่านหรือเกี่ยวหรือสะสมไว้ในยุ้งฉาง แต่พระบิดาของเจ้าทั้งหลายผู้สถิตในสวรรค์ทรงเลี้ยงดูพวกมัน. เจ้าทั้งหลายมีค่ามากกว่าพวกมันมิใช่หรือ?” (มัดธาย 6:26) โดยตรัสเช่นนี้ พระเยซูกำลังชี้ให้เห็นคุณลักษณะสองประการของพระยะโฮวาคือความรักและความเมตตา. แต่ยิ่งกว่านั้น พระเยซูยังช่วยสาวกให้เข้าใจว่าพระเจ้าได้แสดงคุณลักษณะเหล่านั้นต่อมนุษย์ซึ่งเป็นบุตรของพระองค์อย่างไร.
กษัตริย์โซโลมอนผู้ชาญฉลาดกล่าวถึงสติปัญญาตามสัญชาตญาณที่พระเจ้าได้ใส่ไว้ในตัวมด และท่านใช้สัตว์ตัวเล็ก ๆ นี้เพื่อสอนบทเรียนหนึ่งที่สำคัญ. ท่านเขียนว่า “ไปดูมดซิ, เจ้าขี้เกียจ; จงพิจารณาทางทั้งหลายของมัน, และสุภาษิต 6:6-8) ช่างเป็นวิธีสอนที่มีพลังจริง ๆ ซึ่งช่วยให้เห็นคุณค่าของการตั้งเป้าหมายที่ดีและใช้กำลังความสามารถที่พระเจ้าประทานให้เพื่อบรรลุเป้าหมายนั้น!
จงฉลาดขึ้น; มันไม่มีหัวหน้า, ผู้กำกับการ, หรือผู้ปกครอง. ถึงกระนั้นมันก็ยังสะสมอาหารไว้เมื่อฤดูร้อน, และรวบรวมเสบียงของมันไว้เมื่อฤดูเกี่ยวข้าว.” (พ่อแม่สามารถเลียนแบบวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพของพระเยซูและโซโลมอนโดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้: (1) ถามลูกว่าเขาชอบต้นไม้หรือสัตว์อะไร. (2) หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นไม้และสัตว์เหล่านั้น. (3) ช่วยลูกให้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นสอนอะไรเกี่ยวกับพระเจ้า.
2. เลียนแบบทัศนะที่พระเยซูมีต่อคนที่พระองค์สอน. ในบรรดาผู้ที่เคยมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ พระเยซูทรงมีความรู้มากที่สุดและมีเรื่องสำคัญหลายเรื่องที่จะสอน. ถึงกระนั้น พระองค์ใช้เวลามากมายเพื่อถามคำถาม. พระองค์ทรงสนใจจริง ๆ ว่าคนที่พระองค์สอนมีความคิดและความรู้สึกเช่นไร. (มัดธาย 17:24, 25; มาระโก 8:27-29) ในทำนองเดียวกัน พ่อแม่ก็มีบทเรียนสำคัญมากมายที่จะสอนลูก. แต่เพื่อจะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พ่อแม่ต้องเลียนแบบพระเยซูและสนับสนุนให้ลูกแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยความรู้สึกของเขาออกมาอย่างเป็นอิสระ.
จะว่าอย่างไรถ้าลูกแสดงให้เห็นว่าเขามีความคิดที่ไม่ถูกต้องหรือไม่กระตือรือร้นที่จะนำบทเรียนสำคัญบางอย่างไปใช้? ขอให้นึกถึงวิธีที่พระเยซูสอนเหล่าอัครสาวก. บางครั้ง พวกเขาโต้เถียงกันอย่างเอาเป็นเอาตายและไม่กระตือรือร้นที่จะนำบทเรียนเรื่องความถ่อมใจไปใช้. ถึงกระนั้น พระเยซูก็ยังอดทนและตรัสซ้ำแล้วซ้ำอีกถึงเหตุผลที่พวกเขาจำเป็นต้องถ่อมใจ. (มาระโก 9:33, 34; ลูกา 9:46-48; 22:24, 25) พ่อแม่ที่เลียนแบบพระเยซูจะพยายามขัดเกลาและอบรมบ่มนิสัยลูกอย่างอดทน และถ้าจำเป็นพวกเขาก็จะสอนบทเรียนเรื่องเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าลูกจะเห็นความสำคัญของเรื่องนั้นจริง ๆ. *
3. สอนโดยการวางตัวอย่าง. พ่อแม่ควรเอาใจใส่คำแนะนำของอัครสาวกเปาโลที่ให้แก่คริสเตียนในกรุงโรม. ท่านเขียนไปถึงคนเหล่านั้นว่า “ถ้าเป็นเช่นนี้ ท่านผู้สอนคนอื่นไม่ได้สอนตนเองหรือ? ท่านผู้สอนว่า ‘อย่าขโมย’ ท่านเองขโมยหรือ?”—โรม 2:21
คำแนะนำของเปาโลยังใช้ได้ในปัจจุบัน เพราะปกติแล้วเด็กจะจดจำสิ่งที่พ่อแม่ทำมากกว่าสิ่งที่พ่อแม่พูด. ที่จริง ถ้าพ่อแม่สอนโดยปฏิบัติให้เห็นเป็นตัวอย่าง ก็เป็นไปได้มากทีเดียวที่ลูกจะเชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนของพวกเขา.
4. เริ่มสอนตั้งแต่ลูกยังเล็ก. ติโมเธียวซึ่งร่วมงานมิชชันนารีกับอัครสาวกเปาโลเป็นคนที่มีชื่อเสียงดีในหมู่คริสเตียนเมืองลิสตรา. (กิจการ 16:1, 2) เหตุผลหนึ่งคือ เขาได้รับการสอนให้รู้จัก “หนังสือบริสุทธิ์ตั้งแต่เป็นทารก.” แม่และยายของติโมเธียวไม่เพียงแค่อ่านหนังสือบริสุทธิ์ในพระคัมภีร์ให้เขาฟัง แต่พวกเธอยังช่วยเขาให้สามารถอธิบายความจริงที่เขียนไว้ในหนังสือเหล่านั้นด้วย.—2 ติโมเธียว 1:5; 3:14, 15
คุณจะได้รับความช่วยเหลือจากที่ไหน?
พยานพระยะโฮวามีสิ่งพิมพ์มากมายที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษเพื่อช่วยพ่อแม่ในการสอนลูกให้รู้ความจริงเรื่องพระเจ้า. หนังสือเหล่านี้บางเล่มเขียนขึ้นสำหรับเด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะ. บางเล่มก็เป็นสื่อกลางที่ช่วยพ่อแม่และลูกวัยรุ่นให้มีเรื่องพูดคุยกันได้เสมอ. *
แต่ก่อนที่พ่อแม่จะสอนลูกเกี่ยวกับพระเจ้าได้ พวกเขาจำเป็นต้องรู้คำตอบสำหรับคำถามยาก ๆ ที่ลูกอาจถามขึ้นมา. ตัวอย่างเช่น คุณจะตอบอย่างไรถ้าลูกถามคำถามต่อไปนี้: ทำไมพระเจ้ายอมให้มีความทุกข์? พระเจ้าสร้างโลกขึ้นมาทำไม? คนตายแล้วไปไหน? พยานพระยะโฮวายินดีช่วยคุณให้รู้คำตอบสำหรับคำถามดังกล่าวและคำถามอื่น ๆ ด้วย. การรู้คำตอบเหล่านี้สามารถช่วยคุณและครอบครัวให้ใกล้ชิดพระเจ้าได้.—ยาโกโบ 4:8
[เชิงอรรถ]
^ วรรค 10 ในภาษาฮีบรู คำ “อุตส่าห์สั่งสอน” ในพระบัญญัติ 6:7 ทำให้คิดถึงการพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่งซ้ำบ่อย ๆ.
^ วรรค 15 สำหรับลูกที่ยังเล็ก พ่อแม่อาจใช้หนังสือจงเรียนจากครูผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งเน้นคำสอนของพระเยซูคริสต์ หรือหนังสือของฉันเกี่ยวด้วยเรื่องราวในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ซึ่งสอนบทเรียนสำคัญจากคัมภีร์ไบเบิลโดยใช้ภาษาง่าย ๆ. สำหรับลูกวัยรุ่น พ่อแม่อาจใช้หนังสือคำถามที่หนุ่มสาวถาม—คำตอบที่ได้ผล เล่ม 1 และ 2.