ความกรุณามีค่ายิ่งในสายพระเนตรพระเจ้า
เด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นรู้สึกประทับใจในความกรุณาของชายสูงอายุที่ใจดีคนหนึ่ง. ชายคนนี้ซึ่งเป็นมิชชันนารีเพิ่งมาอยู่ที่ญี่ปุ่นได้เพียงไม่กี่ปีและยังพูดภาษาญี่ปุ่นไม่คล่อง. แต่ทุกสัปดาห์เขามาหาเด็กหนุ่มคนนี้ที่บ้านเพื่อพูดคุยเรื่องต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล. เขาจะยิ้มอย่างเป็นมิตร มีท่าทีที่กรุณา และตอบอย่างใจเย็นเมื่อเด็กหนุ่มถามคำถามหลายข้อด้วยความกระหายใคร่รู้.
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร เด็กหนุ่มคนนี้ก็ไม่เคยลืมความกรุณาที่มิชชันนารีสูงอายุได้แสดงต่อเขา. ตอนนั้นเขาคิดว่า ‘ถ้าคัมภีร์ไบเบิลทำให้คนเรามีความกรุณาและมีความรักมากขนาดนี้ ผมก็น่าจะเรียนรู้ดูบ้าง.’ เพราะเหตุนี้ เขาจึงเปิดใจเรียนรู้เรื่องที่แปลกใหม่สำหรับเขาอย่างสิ้นเชิง. เห็นได้ชัดว่าความกรุณาเป็นคุณลักษณะที่ดึงดูดใจและบ่อยครั้งส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของมนุษย์ได้มากกว่าคำพูดเสียอีก.
คุณลักษณะตามแบบพระเจ้า
ตามปกติแล้วเรามักจะแสดงความกรุณาต่อญาติพี่น้องหรือคนที่สนิทกับเรา. แต่ความกรุณาเป็นคุณลักษณะที่มาจากพระเจ้า. พระเยซูตรัสว่าพระบิดาของพระองค์ผู้สถิตในสวรรค์ไม่เพียงกรุณาต่อผู้ที่รักพระองค์เท่านั้น แต่ยังกรุณา “ต่อคนอกตัญญู” ด้วย. พระเยซูสนับสนุนสาวกของพระองค์ให้เลียนแบบพระเจ้าในเรื่องนี้โดยตรัสว่า “เจ้าทั้งหลายต้องเป็นคนดีพร้อมอย่างที่พระบิดาของเจ้าผู้สถิตในสวรรค์ทรงดีพร้อม.”—ลูกา 6:35; มัดธาย 5:48; เอ็กโซโด 34:6
มนุษย์ซึ่งถูกสร้างตามแบบพระเจ้ามีความสามารถที่จะสะท้อนหรือแสดงความกรุณา. (เยเนซิศ 1:27) เราสามารถเลียนแบบพระเจ้าและแสดงความกรุณาต่อทุกคน แม้แต่คนที่ไม่ใช่ญาติหรือเพื่อนสนิทของเรา. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่าความกรุณาเป็นแง่หนึ่งของผลพระวิญญาณหรือพลังปฏิบัติการของพระเจ้าซึ่งคริสเตียนควรปลูกฝัง. (กาลาเทีย 5:22) ดังนั้น มนุษย์ทุกคนสามารถปลูกฝังหรือพัฒนาคุณลักษณะนี้ได้โดยเรียนรู้ให้มากขึ้นเกี่ยวกับพระเจ้าพระผู้สร้างและเข้ามาใกล้ชิดพระองค์.
เนื่องจากความกรุณาเป็นคุณลักษณะที่มนุษย์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติและมีค่ามากในสายพระเนตรพระเจ้า จึงนับว่าเหมาะที่พระเจ้าบอกให้เรา “กรุณาต่อกัน.” (เอเฟโซส์ 4:32) เรายังได้รับคำเตือนด้วยว่า “อย่าลืมแสดงน้ำใจรับรองแขก” ซึ่งเป็นการแสดงความกรุณาต่อคนที่เราไม่รู้จัก.—ฮีบรู 13:2
ในโลกที่ผู้คนมากมายไม่มีความกรุณาและอกตัญญู เป็นไปได้ไหมที่เราจะแสดงความกรุณาต่อคนอื่น แม้แต่คนที่เราไม่รู้จัก? อะไรจะช่วยให้เราแสดงความกรุณาเช่นนั้นได้? และทำไมเราต้องใส่ใจในเรื่องนี้?
เป็นเรื่องสำคัญสำหรับพระเจ้า
น่าสนใจ หลังจากที่อัครสาวกเปาโลเตือนให้แสดงน้ำใจรับรองแขก ท่านกล่าวต่อไปว่า “โดยการแสดงน้ำใจเช่นนั้น บางคนได้ต้อนรับทูตสวรรค์โดยไม่รู้ตัว.” คิดดูสิว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าคุณได้มีโอกาสต้อนรับทูตสวรรค์? แต่ตอนท้ายเปาโลใช้คำว่า “โดยไม่รู้ตัว.” โดยกล่าวเช่นนี้เปาโลกำลังบอกว่า ถ้าเราแสดงความกรุณาต่อคนอื่นรวมทั้งต่อคนที่เราไม่รู้จักจนเป็นนิสัย เราอาจได้รับสิ่งดี ๆ ตอบแทนโดยไม่คาดคิด.
คัมภีร์ไบเบิลหลายฉบับที่มีข้ออ้างอิงมักเชื่อมโยงคำกล่าวของเปาโลในข้อนี้เข้ากับเรื่องราวของอับราฮามและโลตในเยเนซิศบท 18 และ 19. ในบันทึกทั้งสองเรื่อง ทูตสวรรค์ได้จำแลงกายเป็นคนแปลกหน้าและมาพบพวกเขาพร้อมกับข่าวสารสำคัญ. ในกรณีของอับราฮาม ข่าวสารนั้นคือคำรับรองจากพระเจ้าว่าพระองค์จะประทานบุตรชายแก่ท่านตามคำสัญญา ส่วนในกรณีของโลต ทูตสวรรค์เยเนซิศ 18:1-10; 19:1-3, 15-17
มาแจ้งข่าวว่าพระเจ้าจะช่วยเขาให้รอดจากเมืองโซโดมและโกโมราห์ที่กำลังจะถูกทำลาย.—ถ้าคุณได้อ่านเรื่องราวเหล่านี้ในพระคัมภีร์. คุณจะสังเกตว่าทั้งอับราฮามและโลตแสดงความกรุณาต่อคนแปลกหน้าที่เดินทางผ่านมา. จริงอยู่ การต้อนรับผู้ที่เดินทางผ่านมาด้วยใจเอื้อเฟื้อ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ญาติ หรือคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อน ถือเป็นหน้าที่และเป็นธรรมเนียมของผู้คนในสมัยคัมภีร์ไบเบิลอยู่แล้ว. แม้แต่พระบัญญัติของโมเซก็มีคำสั่งให้ชาวอิสราเอลเอาใจใส่ดูแลคนต่างชาติที่อยู่ในแผ่นดินของพวกเขา. (พระบัญญัติ 10:17-19) ถึงกระนั้น ดูเหมือนว่าอับราฮามกับโลตได้แสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อมากกว่าที่กฎหมายในเวลาต่อมากำหนดไว้เสียอีก. พวกเขาพยายามมากจริง ๆ ที่จะแสดงความกรุณาต่อคนแปลกหน้า และพวกเขาก็ได้รับพระพรที่ทำเช่นนั้น.
การแสดงความกรุณาของอับราฮามนอกจากจะทำให้ท่านได้บุตรชายคนหนึ่งเป็นรางวัลจากพระเจ้าแล้ว ยังทำให้พวกเราได้รับประโยชน์ด้วย. เป็นเช่นนั้นอย่างไร? อับราฮามและยิศฮาคบุตรชายของท่านมีบทบาทสำคัญในการทำให้พระประสงค์ของพระเจ้าสำเร็จ. ทั้งสองเป็นบุคคลสำคัญในลำดับวงศ์ตระกูลที่สืบเชื้อสายไปจนถึงพระเยซูผู้เป็นพระมาซีฮา. และการดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์ของพวกเขาเป็นภาพล่วงหน้าเกี่ยวกับการจัดเตรียมของพระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความรักและความกรุณาอันใหญ่หลวงเพื่อช่วยมนุษยชาติให้รอด.—เยเนซิศ 22:1-18; มัดธาย 1:1, 2; โยฮัน 3:16
เรื่องราวที่น่าประทับใจเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้บอกให้รู้ว่าความกรุณาเป็นคุณลักษณะที่สำคัญยิ่งและพระเจ้าทรงคาดหมายให้ผู้ที่รักพระองค์แสดงความกรุณา. เราต้องพัฒนาคุณลักษณะนี้ให้ได้ เพราะนี่เป็นคุณลักษณะที่พระเจ้าทรงถือว่ามีค่ามาก.
การแสดงความกรุณาช่วยให้เรารู้จักพระเจ้าดีขึ้น
คัมภีร์ไบเบิลบอกให้รู้ว่าในสมัยของเราคนมากมายจะ “อกตัญญู ไม่ภักดี ไม่มีความรักใคร่ตามธรรมชาติ.” (2 ติโมเธียว 3:1-3) คุณคงพบเห็นคนเหล่านี้อยู่ทุกวัน. แต่นั่นไม่ควรเป็นเหตุผลที่เราจะไม่แสดงความกรุณาต่อคนอื่น ๆ. คริสเตียนได้รับคำเตือนว่า “อย่าทำชั่วตอบแทนชั่วแก่ผู้หนึ่งผู้ใดเลย. จงหาทางทำสิ่งที่คนทั้งปวงเห็นว่าดี.”—โรม 12:17
เราสามารถแสดงน้ำใจเสียสละและความกรุณาต่อผู้อื่นอย่างใจกว้าง. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า “ทุกคนที่แสดงความรักก็ . . . รู้จักพระเจ้า” และวิธีหนึ่งที่เราแสดงความรักได้ก็คือ โดยแสดงความกรุณาต่อผู้อื่น. (1 โยฮัน 4:7; 1 โครินท์ 13:4) เมื่อเรากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ เราจะรู้จักพระเจ้าดีขึ้น และนั่นจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น. พระเยซูตรัสไว้ในคำเทศน์บนภูเขาว่า “บุคคลผู้ใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้รับพระกรุณา บุคคลผู้ใดมีใจบริสุทธิ์ ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า.”—มัดธาย 5:7, 8, ฉบับคิงเจมส์
เมื่อคุณไม่รู้ว่าควรจะพูดหรือทำอะไร ขอให้คุณพูดและทำสิ่งที่กรุณา
กิจการ 20:35) ดังนั้น การแสดงความกรุณาต่อคนอื่นอาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้เมื่อคุณรู้สึกหดหู่หรือท้อแท้ใจ.
ขอพิจารณาตัวอย่างของอากิ แม่บ้านสาวชาวญี่ปุ่นซึ่งมีลูกชายสองคน. หลังจากที่แม่ของเธอเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เธอก็ซึมเศร้าอย่างหนัก. บางครั้ง เธอรู้สึกแย่มากจนต้องไปพบแพทย์. วันหนึ่ง มีครอบครัวหนึ่งย้ายมาอยู่ใกล้ ๆ บ้านเธอ. พวกเขาเพิ่งสูญเสียหัวหน้าครอบครัวเนื่องจากอุบัติเหตุ เหลือแต่ภรรยาที่ต้องเลี้ยงดูลูกเล็ก ๆ ห้าคน. อากิรู้สึกสงสารครอบครัวนี้มาก เธอจึงพยายามเป็นเพื่อนกับผู้หญิงคนนี้และลูก ๆ. เธอทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวนี้ ทั้งแบ่งปันอาหาร เสื้อผ้าที่ลูกของเธอใส่ไม่ได้แล้ว และสิ่งของอื่น ๆ แก่พวกเขา. การแสดงน้ำใจเช่นนี้ทำให้อากิรู้สึกสดชื่นและมีอารมณ์มั่นคงอีกครั้ง. เธอรู้สึกเหมือนที่คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า “การให้ทำให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ.” (“ให้พระยะโฮวาทรงยืมไป”
เพื่อจะแสดงความกรุณา คุณไม่จำเป็นต้องมีเงินมากและไม่ต้องใช้ความสามารถหรือลงแรงอะไรมากมาย. เพียงแค่รอยยิ้ม คำพูดที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ การให้ความช่วยเหลือ ของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือการเสียสละให้คนอื่นที่ยืนต่อคิวได้ไปก่อนก็มีความหมายมากทีเดียว. เมื่อคุณอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าควรจะพูดหรือทำอะไร ขอให้คุณพูดและทำสิ่งที่กรุณา. ชายหนุ่มที่กล่าวถึงในตอนต้นรู้สึกประทับใจมากที่มิชชันนารีสูงอายุปฏิบัติต่อเขาด้วยความกรุณาทั้ง ๆ ที่มีอุปสรรคด้านภาษา. เพราะเหตุนี้ พระเจ้าจึงมีข้อเรียกร้องประการหนึ่งสำหรับผู้นมัสการพระองค์ว่าพวกเขาต้อง “รักความเมตตากรุณา”!—มีคา 6:8
ภาษิตข้อหนึ่งของชาวเอเชียกล่าวว่า “คำพูดที่กรุณาเพียงคำเดียวทำให้อบอุ่นไปตลอดฤดูหนาว.” คำกล่าวที่ลึกซึ้งกินใจนี้แสดงว่าความกรุณาเพียงเล็กน้อยอาจส่งผลกระทบได้อย่างกว้างขวาง. เมื่อเราแสดงความกรุณาด้วยแรงกระตุ้นที่เหมาะสม และโดยเฉพาะด้วยความรักที่มีต่อพระเจ้า การกระทำของเราอาจทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้สึกอบอุ่นใจ. แม้บางครั้งคนอื่นอาจไม่เห็นค่าความกรุณาของคุณ ก็ไม่ได้หมายความว่าความพยายามของคุณสูญเปล่า. การกระทำของคุณมีค่ามากในสายพระเนตรของพระเจ้า. คัมภีร์ไบเบิลรับรองว่าถ้าเราแสดงความกรุณาต่อผู้อื่น เราก็กำลัง “ให้พระยะโฮวาทรงยืมไป.” (สุภาษิต 19:17) คุณจะหาโอกาสแสดงความกรุณาต่อคนรอบข้างได้ไหม?