บทยี่สิบ
“ข้าพเจ้าเชื่อ”
1. จงพรรณนาว่ามาร์ทารู้สึกอย่างไร และทำไม.
มาร์ทาไม่อาจลืมภาพอุโมงค์ฝังศพของน้องชายได้. อุโมงค์นั้นเป็นถ้ำที่มีหินก้อนใหญ่ปิดไว้. ความทุกข์ของเธอหนักอึ้งราวกับหินก้อนนั้น. เธอไม่อยากเชื่อเลยว่าลาซะโรน้องชายที่รักของเธอได้จากไปแล้ว. ตลอดสี่วันที่ผ่านมาหลังจากลาซะโรสิ้นใจ เธอแทบไม่รู้เลยว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง. เธอรู้แต่ว่าตัวเองจมอยู่ในความทุกข์โศกเศร้า และมีคนมากมายมาเยี่ยมเพื่อปลอบโยนเธอ.
2, 3. (ก) มาร์ทารู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นพระเยซู? (ข) คำพูดของมาร์ทาในโยฮัน 11:27 แสดงว่าเธอเป็นคนแบบไหน?
2 ตอนนี้บุรุษผู้หนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนที่ลาซะโรรักที่สุดกำลังยืนอยู่ตรงหน้าเธอ. เมื่อเห็นพระเยซู หัวใจเธอก็เจ็บแปลบด้วยความทุกข์อีกครั้ง เพราะพระองค์คือผู้เดียวที่น่าจะช่วยชีวิตน้องชายเธอได้. แต่มาร์ทาก็สบายใจขึ้นเมื่อได้พูดคุยกับพระเยซูนอกเมืองเบทาเนียซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ บนเชิงเขา. แม้จะคุยกันเพียงสั้น ๆ แต่ความกรุณาและความเห็นอกเห็นใจของพระเยซูก็ทำให้เธอรู้สึกอุ่นใจและมีกำลังใจขึ้น. พระองค์ใช้คำถามต่าง ๆ เพื่อช่วยเธอให้คิดถึงความเชื่อและความหวังเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย. การสนทนาครั้งนั้นทำให้มาร์ทาเอ่ยถ้อยคำหนึ่งที่สำคัญที่สุดเท่าที่เธอเคยพูดออกมา. เธอพูดว่า “ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้าผู้เสด็จเข้ามาในโลก.”—โย. 11:27
3 คำพูดดังกล่าวแสดงว่ามาร์ทาเป็นสตรีที่มีความเชื่อโดดเด่นมาก. สิ่งที่คัมภีร์ไบเบิลบอกเราเกี่ยวกับมาร์ทาแม้จะไม่มากนัก แต่ก็ให้บทเรียนสำคัญและช่วยเราให้มีความเชื่อเข้มแข็งขึ้น. เพื่อจะเข้าใจบทเรียนนี้ ให้เราพิจารณาบันทึกในพระคัมภีร์ที่กล่าวถึงมาร์ทาเป็นครั้งแรก.
“กังวลและพะวงอยู่กับหลายสิ่ง”
4. ครอบครัวของมาร์ทาต่างจากครอบครัวทั่ว ๆ ไปอย่างไร และพวกเขามีความสัมพันธ์เช่นไรกับพระเยซู?
4 หลายเดือนก่อนหน้านั้น ลาซะโรยังมีชีวิตอยู่และแข็งแรงดี. เขากำลังจะได้ต้อนรับแขกคนสำคัญคือ พระเยซูคริสต์ ที่บ้านของเขาในเบทาเนีย. ครอบครัวนี้ต่างจากครอบครัวทั่ว ๆ ไป เพราะทั้งลาซะโร มาร์ทา และมาเรียแม้จะเป็นผู้ใหญ่แล้วแต่ก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน. ผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์ไบเบิลบางคนคิดว่าใน 3 คนนี้มาร์ทาน่าจะเป็นพี่สาวคนโต เพราะเธอมักทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านและมักมีการกล่าวถึงชื่อเธอเป็นคนแรก. (โย. 11:5) ไม่มีใครรู้ว่าพี่น้อง 3 คนนี้เคยแต่งงานหรือไม่. ถึงอย่างไรพวกเขาก็เป็นเพื่อนสนิทของพระเยซู. ช่วงที่พระเยซูทำงานประกาศในแคว้นยูเดีย พระองค์อาศัยบ้านของพวกเขาเป็นที่พักพิง. หลายคนที่นั่นเกลียดชังและต่อต้านพระองค์อย่างหนัก พระองค์คงรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีในบ้านอันสงบสุขนี้.
5, 6. (ก) ทำไมมาร์ทายุ่งมากตอนที่พระเยซูมาเยี่ยม? (ข) มาเรียรู้สึกอย่างไรตอนที่พระเยซูมาที่บ้าน?
5 มาร์ทามีน้ำใจรับรองแขกและทำหลายสิ่งเพื่อให้บ้านเป็นที่พักที่สะดวกสบาย. เธอเป็นคนขยันขันแข็ง เอาการเอางาน และดูเหมือนจะมีงานยุ่งอยู่ตลอดเวลา. ตอนที่พระเยซูมาเยี่ยมก็เป็นเช่นนั้นด้วย. เธอตระเตรียมอาหารพิเศษหลายอย่างสำหรับแขกคนสำคัญของเธอกับคนที่เดินทางมาด้วย. ในสมัยนั้น การรับรองแขกถือเป็นเรื่องสำคัญมาก. เมื่อแขกมาถึง เจ้าบ้านจะต้อนรับด้วยการจูบ จะถอดรองเท้าและล้างเท้าให้แขก จากนั้นก็เอาน้ำมันหอมชโลมศีรษะให้เพื่อแขกจะรู้สึกสดชื่น. (อ่านลูกา 7:44-47 ) แขกจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดทั้งในเรื่องอาหารและที่พัก.
6 เพื่อต้อนรับแขกกลุ่มนี้ มาร์ทากับมาเรียมีงานมากมายต้องทำ. ตอนแรกมาเรียคงช่วยพี่สาวเตรียมงาน บางคนคิดว่ามาเรียเป็นคนละเอียดอ่อนและสนใจใคร่รู้มากกว่ามาร์ทา. แต่พอพระเยซูมาถึง เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไป.
พระเยซูมองว่านี่เป็นโอกาสดีที่จะสอน และพระองค์ก็สอน. พระเยซูไม่เหมือนผู้นำศาสนาในสมัยนั้น พระองค์ให้เกียรติผู้หญิงและยินดีสอนพวกเธอเรื่องราชอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งเป็นสาระสำคัญของข่าวสารที่พระองค์ประกาศ. มาเรียตื่นเต้นมากที่มีโอกาสฟังพระเยซู เธอจึงไปนั่งอยู่แทบพระบาทพระเยซูและตั้งใจฟังทุกคำ.7, 8. ทำไมมาร์ทารู้สึกเครียดและกระวนกระวายใจ และเธอโพล่งอะไรออกมา?
7 เรานึกภาพออกว่ามาร์ทาคงเริ่มรู้สึกเครียดและกระวนกระวายใจ. เธอต้องทำอาหารหลายอย่าง ทั้งยังต้องเตรียมโน่นเตรียมนี่ให้แขก เธอจึงกังวลและว้าวุ่นใจมากขึ้นเรื่อย ๆ. เธออาจเริ่มโกรธและถอนหายใจดัง ๆ หรือไม่ก็ทำหน้านิ่วคิ้วขมวดเมื่อเดินเข้าเดินออกและเห็นน้องสาวนั่งอยู่เฉย ๆ โดยไม่ช่วยอะไรเลย. ไม่แปลกถ้าเธอจะแสดงอาการเช่นนั้น. เธอไม่สามารถทำงานทั้งหมดได้โดยไม่มีใครช่วย.
8 ในที่สุด มาร์ทาก็ทนไม่ไหว. เธอเข้ามาขัดจังหวะระหว่างที่พระเยซูสอน แล้วโพล่งออกมาว่า “พระองค์เจ้าข้า พระองค์ไม่สนพระทัยหรือที่น้องสาวปล่อยให้ข้าพเจ้าทำงานอยู่คนเดียว? ขอทรงบอกเธอให้มาช่วยข้าพเจ้าเถิด.” (ลูกา 10:40) นี่เป็นคำพูดที่แรงทีเดียว. คัมภีร์ไบเบิลบางฉบับแปลคำพูดของเธอในทำนองว่า “พระองค์เจ้าข้า ไม่เห็นหรือว่า . . . ?” แล้วเธอก็ขอให้พระเยซูตักเตือนมาเรียและสั่งให้มาเรียกลับมาช่วยเธอทำงาน.
9, 10. (ก) พระเยซูตอบมาร์ทาอย่างไร? (ข) จากคำพูดของพระเยซูแสดงว่าพระองค์ไม่เห็นค่าสิ่งที่มาร์ทาอุตส่าห์ทำไหม?
9 คำตอบของพระเยซูคงทำให้มาร์ทาประหลาดใจเหมือนกับที่ผู้อ่านพระคัมภีร์หลายคนรู้สึกเช่นนั้น. พระองค์พูดด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนว่า “มาร์ทา มาร์ทา เจ้ากังวลและพะวงอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่าง. แต่ที่จำเป็นนั้นมีไม่กี่อย่างหรือไม่ก็เพียงอย่างเดียว. มาเรียนั้นเลือกเอาส่วนดีและจะไม่มีใครเอาส่วนนี้ไปจากเธอได้.” ลูกา 10:41, 42) พระเยซูหมายความอย่างไร? พระองค์กำลังบอกว่ามาร์ทาสนใจเรื่องการกินการอยู่มากกว่าสนใจพระเจ้าไหม? พระองค์ไม่เห็นค่าที่เธออุตส่าห์เตรียมอาหารดี ๆ หลายอย่างไหม?
(10 ไม่ใช่เช่นนั้น. พระเยซูรู้ว่ามาร์ทามีเจตนาดีและทำสิ่งเหล่านี้ด้วยความรัก. พระองค์ไม่ได้คิดว่าการต้อนรับแขกด้วยการจัดเลี้ยงอย่างใหญ่โตเป็นเรื่องผิดเสมอ. ก่อนหน้านี้ พระองค์ยินดีไปร่วม “งานเลี้ยงใหญ่” ที่มัดธายจัดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์. (ลูกา 5:29) การที่มาร์ทาจัดเตรียมอาหารมากมายไม่ใช่ประเด็น แต่พระเยซูกำลังเน้นเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของสิ่ง ต่าง ๆ. มาร์ทาเป็นห่วงมากเกินไปว่าต้องเตรียมอาหารอย่างประณีตจึงมองข้ามสิ่งที่สำคัญที่สุด. สิ่งนั้นคืออะไร?
พระเยซูทรงเห็นค่าน้ำใจรับรองแขกของมาร์ทา และพระเยซูรู้ว่ามาร์ทามีเจตนาดีและทำสิ่งเหล่านี้ด้วยความรัก
11, 12. พระเยซูแก้ไขความคิดของมาร์ทาอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาอย่างไร?
11 พระเยซูพระบุตรองค์เดียวของพระยะโฮวาพระเจ้ากำลังสอนความจริงอยู่ในบ้านของมาร์ทา. ไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่น่ารับประทานหรือการต้อนรับอย่างดีเยี่ยม. พระเยซูคงรู้สึกเสียดายที่มาร์ทาพลาดโอกาสที่พิเศษสุดนี้ในการเสริมสร้างความเชื่อของตน แต่พระองค์ก็ปล่อยให้เธอเลือกเอง. * อย่างไรก็ตาม มาร์ทาไม่มีสิทธิ์ขอร้องพระเยซูให้สั่งน้องสาวให้เลือกอย่างเดียวกับเธอ.
12 พระเยซูแก้ไขความคิดของมาร์ทาอย่างผ่อนหนักผ่อนเบา. พระองค์เรียกชื่อเธอซ้ำ 2 ครั้งเพื่อให้เธอใจเย็น และบอกเธอว่าไม่ต้อง “กังวลและพะวงอยู่กับหลายสิ่งหลายอย่าง.” อาหารธรรมดาแค่หนึ่งหรือสองอย่างก็เพียงพอแล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีโอกาสได้รับความรู้มากมายจากพระเยซูซึ่งเป็นอาหารฝ่ายวิญญาณ. พระเยซูจะไม่สั่งมาเรียให้ทิ้งโอกาสที่จะได้รับการสอนจากพระองค์ นั่นเป็น “ส่วนดี” ที่เธอเลือกแล้ว.
13. การที่พระเยซูแก้ไขมาร์ทาสอนอะไรเรา?
13 เรื่องราวสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านหลังนี้ให้บทเรียนอันมีค่าแก่เราทุกคน. เราต้องไม่ปล่อยให้สิ่งใดมาขัดขวางโอกาสที่จะได้รับความรู้จากพระเจ้าซึ่งเป็นการตอบสนอง “ความจำเป็นฝ่ายวิญญาณ” ของเรา. (มัด. 5:3) ถึงแม้เราต้องการเลียนแบบมาร์ทาในเรื่องการแสดงน้ำใจเอื้อเฟื้อและความขยันขันแข็ง แต่เราไม่ควร “กังวลและพะวง” กับการรับรองแขกมากเกินไปจนพลาดสิ่งที่สำคัญที่สุด. เมื่อเราสังสรรค์กับเพื่อนร่วมความเชื่อ สิ่งสำคัญอันดับแรกไม่ใช่เรื่องการจัดเลี้ยงหรือกินเลี้ยงอย่างหรูหรา แต่เราไปเพื่อหนุนกำลังใจกันและเสริมสร้างกันในด้านความเชื่อ. (อ่านโรม 1:11, 12 ) แม้จะเป็นการรับประทานอาหารง่าย ๆ เราก็หนุนใจกันได้.
เสียน้องชายที่รักไปและได้กลับคืนมา
14. ทำไมอาจกล่าวได้ว่ามาร์ทาเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมสำหรับเรา?
14 มาร์ทายอมรับการเตือนสติอย่างผ่อนหนักผ่อนเบาจากพระเยซูและเรียนรู้จากเหตุการณ์นั้นไหม? แน่นอน. ก่อนที่อัครสาวกโยฮันจะเล่าเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับน้องชายของมาร์ทา เขาบอกว่า “พระเยซูทรงรักมาร์ทากับน้องสาวและลาซะโรด้วย.” (โย. 11:5) ในตอนนั้น เวลาได้ผ่านไปหลายเดือนแล้วตั้งแต่พระเยซูเสด็จมาที่เบทาเนีย. เห็นชัดว่ามาร์ทาไม่ได้ผูกใจเจ็บ. เธอไม่ได้แค้นเคืองพระเยซูที่ให้คำแนะนำเธอด้วยความรัก. เธอเต็มใจยอมรับการแก้ไขนั้น. มาร์ทาเป็นตัวอย่างที่ดีเยี่ยมสำหรับเราในเรื่องนี้. เราทุกคนจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำเป็นครั้งคราวมิใช่หรือ?
15, 16. (ก) มาร์ทาอาจทำอะไรบ้างตอนน้องชายป่วย? (ข) ทำไมมาร์ทากับมาเรียต้องผิดหวัง?
15 เมื่อน้องชายป่วย มาร์ทาคงคอยดูแลเขาอย่างใกล้ชิด. เธออาจทำทุกสิ่งที่ทำได้เพื่อช่วยให้น้องชายเจ็บปวดน้อยลงและรู้สึกดีขึ้น. แม้จะทำอย่างนั้น แต่อาการของลาซะโรก็ทรุดหนักลงเรื่อย ๆ. มาร์ทาคงมองดูใบหน้าที่ซูบซีดของน้องชายแล้วนึกถึงช่วงเวลาหลายปีที่พวกเขาได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน.
16 เมื่อมาร์ทากับมาเรียเห็นว่าลาซะโรป่วยหนักเกินกว่าจะช่วยได้ พวกเธอส่งคนไปแจ้งข่าวแก่พระเยซู. พระองค์กำลังประกาศในเมืองที่อยู่ไกลซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางถึง 2 วัน. พวกเธอส่งข่าวไปสั้น ๆ ว่า “พระองค์เจ้าข้า สหายที่พระองค์ทรงรักป่วยอยู่.” (โย. 11:1, 3) มาร์ทากับมาเรียรู้ว่าพระเยซูรักน้องชายของพวกเธอ และเชื่อว่าพระองค์จะทำทุกสิ่งเพื่อช่วยสหายคนนี้. พวกเธออาจหวังว่าพระเยซูจะมาทันเวลา แต่แล้วพวกเธอก็ต้องผิดหวัง. ลาซะโรตายแล้ว.
17. มาร์ทาอาจสงสัยเรื่องใด และเธอทำอะไรเมื่อได้ยินว่าพระเยซูเดินทางมาใกล้ถึงเบทาเนีย?
17 ทั้งมาร์ทาและมาเรียต่างก็โศกเศร้าอาลัยถึงน้องชาย. พวกเธอช่วยกันเตรียมงานศพและต้อนรับแขกมากมายที่มาจากเบทาเนียและละแวกใกล้โยฮัน 11:18-20
เคียง. ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ข่าวจากพระเยซู. เมื่อเวลาผ่านไป มาร์ทาคงยิ่งสงสัยว่าทำไมพระเยซูยังไม่เสด็จมา. ในที่สุด หลังจากลาซะโรตายไปได้สี่วัน มาร์ทาก็ได้ยินว่าพระเยซูเดินทางมาใกล้ถึงเบทาเนียแล้ว. แม้มาร์ทาจะยังทุกข์โศกอยู่ แต่เนื่องจากเธอเป็นคนแคล่วคล่องว่องไว เธอจึงรีบออกไปหาพระเยซูทันทีโดยไม่ทันบอกมาเรีย.—อ่าน18, 19. มาร์ทาพูดอะไรที่แสดงว่าเธอมีความหวัง และทำไมความเชื่อของเธอจึงโดดเด่น?
18 ทันทีที่เห็นนายของเธอ มาร์ทาก็ระบายความทุกข์ที่อัดอั้นอยู่ในใจเธอกับมาเรียมาหลายวัน. เธอกล่าวว่า “พระองค์เจ้าข้า ถ้าตอนนั้นพระองค์อยู่ที่นี่ น้องชายข้าพเจ้าคงไม่ตาย.” แม้จะพูดเช่นนี้ แต่มาร์ทาก็ยังมีความเชื่อและความหวัง. เธอพูดต่อไปว่า “ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็รู้อยู่ว่าทุกสิ่งที่พระองค์ทูลขอจากพระเจ้า พระเจ้าจะทรงประทานแก่พระองค์.” พระเยซูช่วยให้เธอมั่นใจในความหวังนั้นโดยตอบทันทีว่า “น้องชายของเจ้าจะเป็นขึ้นจากตาย.”—โย. 11:21-23
19 มาร์ทาคิดว่าพระเยซูกำลังพูดถึงการกลับเป็นขึ้นจากตายที่จะเกิดในอนาคต เธอจึงตอบว่า “ข้าพเจ้ารู้ว่าเขาจะถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตายในวันสุดท้าย.” (โย. 11:24) การที่เธอมีความเชื่อในคำสอนนี้เป็นเรื่องที่โดดเด่นมาก. ผู้นำศาสนาชาวยิวบางคนที่เป็นพวกซาดูกายไม่เชื่อว่ามีการกลับเป็นขึ้นจากตาย ทั้ง ๆ ที่คำสอนนี้มีบอกไว้ชัดเจนในพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจ. (ดานิ. 12:13; มโก. 12:18) แต่มาร์ทารู้ว่าพระเยซูสอนเรื่องการกลับเป็นขึ้นจากตาย และพระองค์เคยปลุกบางคนให้กลับมามีชีวิตแล้วแม้ว่าคนเหล่านั้นจะตายไปไม่นานเท่าลาซะโร. เธอไม่รู้เลยว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น.
20. จงอธิบายถ้อยคำที่ไม่อาจลืมเลือนของพระเยซูดังบันทึกในโยฮัน 11:25-27 รวมทั้งคำตอบของมาร์ทา.
20 แล้วพระเยซูก็ตรัสถ้อยคำที่ไม่อาจลืมเลือนดังนี้: “เราเป็นการกลับเป็นขึ้นจากตายและเป็นชีวิต.” จริงทีเดียว พระยะโฮวาพระเจ้ามอบอำนาจให้พระบุตรสามารถปลุกทุกคนที่ตายไปแล้วให้กลับมามีชีวิตอีกในอนาคต. พระโย. 5:28, 29; อ่านโยฮัน 11:25-27
เยซูถามมาร์ทาว่า “เจ้าเชื่อเรื่องนี้ไหม?” มาร์ทาตอบอย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นของบทนี้. เธอเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์หรือพระมาซีฮา เป็นพระบุตรของพระยะโฮวาพระเจ้า และเป็นบุคคลที่พวกผู้พยากรณ์กล่าวถึงว่าจะเสด็จเข้ามาในโลก.—21, 22. (ก) พระเยซูรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผู้คนโศกเศร้า? (ข) จงพรรณนาเหตุการณ์ตอนที่พระเยซูปลุกลาซะโร.
21 พระยะโฮวาพระเจ้าและพระเยซูคริสต์พระบุตรของพระองค์ทรงเห็นค่าความเชื่อเช่นนั้นไหม? เหตุการณ์ต่อจากนี้ที่มาร์ทาจะได้เห็นด้วยตาตัวเองช่วยตอบคำถามนี้ได้อย่างชัดเจน. ตอนแรกเธอรีบวิ่งไปเรียกน้องสาว. หลังจากนั้น เธอได้เห็นว่าพระเยซูรู้สึกเศร้าพระทัยอย่างยิ่งขณะที่พูดคุยกับมาเรียโย. 11:28-39
และคนอื่น ๆ ที่กำลังโศกเศร้า. เธอเห็นพระเยซูสะเทือนพระทัยและหลั่งน้ำตาเมื่อเห็นว่าความตายก่อความทุกข์มากเพียงไร. เธอได้ยินพระเยซูสั่งคนให้กลิ้งหินออกจากปากอุโมงค์ฝังศพของน้องชาย.—22 เนื่องจากมาร์ทาเป็นคนรอบคอบ เธอทักท้วงว่าตอนนี้ศพคงมีกลิ่นเหม็นเพราะตายมาสี่วันแล้ว. พระเยซูบอกเธอว่า “เราบอกเจ้าแล้วมิใช่หรือว่า ถ้าเจ้าเชื่อ เจ้าจะเห็นฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า?” เธอเชื่อ และเธอก็ได้เห็นฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ของพระยะโฮวาพระเจ้า. ทันใดนั้น พระยะโฮวาได้มอบอำนาจให้พระบุตรสามารถปลุกลาซะโรให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง! ลองนึกภาพเหตุการณ์ต่อไปนี้ซึ่งคงจะตราตรึงอยู่ในความทรงจำของมาร์ทาไปตลอดชีวิต. พระเยซูร้องเสียงดังว่า “ลาซะโร ออกมาเถิด!” จากนั้นก็มีเสียงอะไรบางอย่างแว่วมาจากด้านในอุโมงค์ ขณะที่ลาซะโรลุกขึ้นและค่อย ๆ คลำหาทางออกจากอุโมงค์โดยที่ยังมีผ้าพันตัวอยู่. พระเยซูสั่งว่า “จงเอาผ้าที่พันเขาไว้ออกเสีย เขาจะได้ไป.” มาร์ทากับมาเรียคงต้องโผเข้าไปกอดน้องชายด้วยความตื่นเต้นดีใจอย่างยิ่ง. (อ่านโยฮัน 11:40-44 ) ความทุกข์ในใจของมาร์ทาที่หนักอึ้งถูกยกออกไปแล้ว!
23. พระยะโฮวาและพระเยซูปรารถนาจะประทานอะไรแก่คุณ และคุณควรทำอะไรเพื่อจะได้ของประทานนั้น?
23 บันทึกเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการกลับเป็นขึ้นจากตายไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเพ้อฝัน แต่เป็นคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลที่น่าอบอุ่นใจและเป็นเรื่องจริงทางประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานยืนยัน. (โยบ 14:14, 15) พระยะโฮวาและพระบุตรปรารถนาอย่างยิ่งที่จะประทานรางวัลแก่คนที่มีความเชื่อเหมือนที่พระองค์ประทานแก่มาร์ทา มาเรีย และลาซะโร. พระองค์ทั้งสองจะประทานรางวัลนั้นแก่คุณด้วย ถ้าคุณมีความเชื่อเข้มแข็งเหมือนมาร์ทา.
“มาร์ทาคอยรับใช้”
24. ข้อความสุดท้ายที่กล่าวถึงมาร์ทาคืออะไร?
24 หลังจากเหตุการณ์นั้น คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงมาร์ทาอีกเพียงครั้งเดียว. โย. 12:2
ขณะนั้นเป็นสัปดาห์สุดท้ายที่พระเยซูจะอยู่บนแผ่นดินโลก. พระเยซูรู้ดีว่ากำลังจะเจอความทุกข์อะไรบ้างในกรุงเยรูซาเลม พระองค์จึงเลือกพักอยู่กับครอบครัวนี้ที่เบทาเนียก่อนจะเดินทางไปที่เมืองนั้น ซึ่งอยู่ห่างเพียงสามกิโลเมตร. ขณะที่พระเยซูและลาซะโรกำลังรับประทานอาหารอยู่ในบ้านของซีโมนคนโรคเรื้อน เราพบข้อความสุดท้ายที่กล่าวว่า “มาร์ทาคอยรับใช้.”—25. ทำไมประชาคมต่าง ๆ ในทุกวันนี้จึงยินดีที่มีผู้หญิงแบบมาร์ทา?
25 มาร์ทาเป็นสตรีที่ขยันขันแข็งจริง ๆ! ครั้งแรกที่เราอ่านพบเรื่องราวของเธอในคัมภีร์ไบเบิล เธอกำลังทำงานอยู่ และตอนที่กล่าวถึงเธอครั้งสุดท้าย เธอก็ยังทำงานอยู่และเอาใจใส่ดูแลคนรอบข้างอย่างดีที่สุด. ในทุกวันนี้ เรายินดีจริง ๆ ที่มีผู้หญิงแบบมาร์ทาในประชาคมคริสเตียน พวกเธอเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ และแสดงความเชื่อโดยรับใช้ผู้อื่นอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก. มาร์ทาคงจะทำอย่างนี้ต่อไป. นี่เป็นสิ่งที่ฉลาดสุขุม เพราะเธอยังต้องเจอกับอุปสรรคอีกมากมาย.
26. ความเชื่อของมาร์ทาได้ช่วยเธออย่างไร?
26 หลังจากนั้นไม่กี่วัน มาร์ทาต้องทนกับความโศกเศร้าเมื่อพระเยซูนายผู้เป็นที่รักของเธอสิ้นพระชนม์อย่างทุกข์ทรมาน. นอกจากนั้น พวกคนหน้าซื่อใจคดที่ฆ่าพระเยซูยังจ้องจะฆ่าลาซะโรด้วย เพราะการกลับเป็นขึ้นจากตายของเขาทำให้ผู้คนมากมายมีความเชื่อในพระเยซู. (อ่านโยฮัน 12:9-11 ) ในที่สุด ความตายก็ทำให้สายสัมพันธ์อันเปี่ยมด้วยความรักของมาร์ทากับน้อง ๆ สิ้นสุดลง. เราไม่รู้ว่าพวกเขาเสียชีวิตอย่างไรและเมื่อไร แต่เราค่อนข้างแน่ใจว่าความเชื่อที่มีค่าของมาร์ทาได้ช่วยเธอให้อดทนจนถึงที่สุด. นี่คือเหตุผลที่คริสเตียนในทุกวันนี้ควรเลียนแบบความเชื่อของมาร์ทา.
^ วรรค 11 ในสังคมชาวยิวสมัยศตวรรษแรก ผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกกีดกันทางการศึกษา. พวกเธอมักได้เรียนแต่เรื่องการเอาใจใส่ดูแลบ้าน. มาร์ทาอาจมองว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะที่ผู้หญิงจะนั่งแทบเท้าผู้คงแก่เรียนเพื่อรับการสอน.